ตั้งแต่การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในไมดาน จนถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ของยูเครนและรัสเซียตลอด 8 ปีที่ผ่านมาที่เกิดในยูเครน
ปี 2014: การปฏิวัติไมดาน Maidan และการผนวกไครเมียพฤศจิกายน 2013 ถึง กุมภาพันธ์ 2014
เหตุการณ์เกิดเมื่อไม่กี่วันก่อนที่จะมีการลงนาม ประธานาธิบดียานูโกวิช ประกาศว่าเขาจะปฏิเสธที่จะลงนามในข้อตกลงสมาคมกับสหภาพยุโรปเพื่อนำยูเครนเข้าสู่ข้อตกลงการค้าเสรี เขาอ้างแรงกดดันนั้นมาจากรัสเซียเป็นเหตุผลหลักในการตัดสินใจของเขา ซึ่งการประกาศดังกล่าวจากประธานาธิบดีทำให้เกิดจุดชนวนการประท้วงครั้งใหญ่ทั่วประเทศยูเครน ซึ่งถือเป็นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การปฏิวัติสีส้ม ประชาชนเรียกร้องให้ ประธานาธิบดี ยานูโกวิช “ลาออก” ผู้ประท้วงเริ่มตั้งแคมป์ในจัตุรัส Maidan Square ในเมืองเคียฟและยึดอาคารของรัฐบาล รวมถึงศาลากลางของเคียฟและกระทรวงยุติธรรมในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ความรุนแรงระหว่างตำรวจและผู้ประท้วงทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 ราย เพียงสัปดาห์เดียวกลายเป็นสัปดาห์นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์หลังจากที่ยูเครนได้แยกตัวออกจากโซเวียต
ก่อนการลงมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี ตามกำหนดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2014 ยานูโกวิชได้หลบหนีไปยังรัสเซียได้สำเร็จ รัฐสภาของยูเครนลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ถอดยานูโกวิชและแต่งตั้งรัฐบาลขึ้นมาชั่วคราว ประกาศว่าจะลงนามในข้อตกลงของสหภาพยุโรปและลงมติให้ปล่อย ยูเลีย ทีโมเชนโก (Yulia Tymoshenko อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของยูเครนและนักการเมือง) ออกจากคุก
รัฐบาลใหม่ได้ตั้งข้อหายานูโกวิชในการสังหารหมู่ผู้ประท้วงในไมดานและออกหมายจับ แต่รัสเซียประกาศว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลยูเครนเป็นการรัฐประหารที่ผิดกฎหมาย ระหว่างนั้นทหารรัสเซียติดอาวุธได้ไปปรากฏตัวที่จุดตรวจพร้อมด้วยอาวุธอุปกรณ์ครบครัน ซึ่งได้เตรียมพร้อมรออยู่แล้วในคาบสมุทรไครเมียแทบจะทันที ซึ่งปูตินในตอนแรกปฏิเสธว่าทหารเหล่านั้นไม่ได้เป็นทหารของรัสเซียแต่ท้ายที่สุดเขาก็ออกมายอมรับว่าเป็นทหารของรัสเซีย
มีนาคม 2014
ด้วยกองทหารรัสเซียที่ควบคุมคาบสมุทรไครเมีย รัสเซียจึงลงมติให้ไครเมียแยกตัวจากยูเครนและเข้าร่วมกับรัสเซีย โดยได้มีการลงประชามติให้ประชาชนโหวตกันเองโดย 97% ของผู้อยู่อาศัยลงคะแนนเห็นชอบให้แยกตัวออกจากกัน แม้ว่าผลลัพธ์จะยังไม่เป็นที่สรุปแน่ชัดก็ตาม ปูตินจึงสรุปการผนวกไครเมียของรัสเซียโดยการประกาศเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2014 ต่อรัฐสภาของรัสเซีย และเพื่อเป็นการตอบโต้ของฝั่งสหรัฐฯ และพันธมิตรในยุโรปจึงกำหนดมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย และพวกเขาไม่เคยยอมรับการผนวกรัสเซียของแคว้นไครเมียเลย
เมษายน 2014
กองกำลังรัสเซียประมาณ 40,000 นายมารวมตัวกันที่ชายแดนตะวันออกของยูเครน ความรุนแรงได้ปะทุขึ้นในภูมิภาค Donbas ทางตะวันออกของยูเครน ซึ่งเป็นความรุนแรงที่ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงทุกวันนี้ กองกำลังแบ่งแยกดินแดนที่รัสเซียสนับสนุน บุกโจมตีอาคารรัฐบาลในเมืองต่างๆ ทางตะวันออกของยูเครน โดยรัสเซียให้การปฏิเสธว่ากองกำลังของตนไม่ได้อยู่บนดินแดนของยูเครน
พฤษภาคม 2014
นักการเมืองที่สนับสนุนฝ่ายตะวันตก “เปโตร โปโรเชนโก” อดีตรัฐมนตรีของรัฐบาลและหัวหน้าสภาธนาคารแห่งชาติของยูเครน ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศยูเครน เขาส่งเสริมการปฏิรูป รวมถึงมาตรการในการจัดการกับการทุจริตและลดการพึ่งพารัสเซียในด้านพลังงานและลดการสนับสนุนทางการเงินของยูเครนที่มีต่อรัสเซีย
กันยายน 2014
วันที่ 5 กันยายน 2014 ตัวแทนจากรัสเซีย ยูเครน ฝรั่งเศส และเยอรมนีประชุมกันในเบลารุส เพื่อพยายามเจรจายุติความรุนแรงใน Donbas พวกเขาลงนามในข้อตกลงมินสค์ฉบับแรก ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างยูเครนและรัสเซียเพื่อยุติความรุนแรงภายใต้การหยุดยิงที่เปราะบาง การหยุดยิงได้สิ้นสุดลงในไม่ช้า แต่ในที่สุดก็มีการยิงกันประปรายเกิดขึ้นโดยตลอด
2015 ถึง 2020: รัสเซียปรากฏตัวอีกครั้ง
กุมภาพันธ์ 2015
กลุ่มมินสค์พบกันอีกครั้งในเบลารุสเพื่อค้นหาข้อตกลงที่ในการยุติการต่อสู้ ส่งผลให้เกิดข้อตกลงมินสค์ 2 แต่การยุติความรุนแรงก็ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นกัน ตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 14,000 คน บาดเจ็บหลายหมื่นคน และผู้พลัดถิ่นมากกว่าหนึ่งล้านคน
ปี 2016-2017ในขณะที่การต่อสู้ใน Donbas ดำเนินต่อไป รัสเซียได้โจมตียูเครนซ้ำๆหลายครั้ง รวมไปถึงการโจมตีทางอินเทอร์เน็ต โจมตีทางไซเบอร์และรวมถึงการโจมตีพลังงานไฟฟ้าของเคียฟ โดยในปี 2016 ที่ทำให้เกิดไฟดับครั้งใหญ่ ในปี 2017 การโจมตีขนาดใหญ่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของยูเครนรวมถึงธนาคารแห่งชาติและโครงข่ายไฟฟ้า (การโจมตีทางไซเบอร์จากรัสเซียยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปัจจุบันการโจมตีครั้งใหญ่ครั้งล่าสุดมุ่งเป้าไปที่เว็บไซต์ของรัฐบาลซึ่งทำให้ใช้งานไม่ได้ในเดือนมกราคม 2022)
ปี 2019
ในเดือนเมษายนนักแสดงตลกและนักแสดง โวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีโดยคะแนนเลือกตั้งเขาชนะแบบถล่มทลาย ซึ่งในระหว่างการหาเสียงของเขาเซเลนสกี้สาบานว่าจะรักษาสันติภาพกับรัสเซียและยุติสงครามใน Donbas ซึ่งความพยายามในช่วงแรกของประธานาธิบดีเซเลนสกี้ ในการแก้ปัญหาความรุนแรงนั้นถูกชะลอโดยประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งทรัมป์ได้บล็อกความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ ให้กับยูเครนในช่วงสั้นๆและแนะนำให้เซเลนสกี้ ว่าเขาควรทำงานร่วมกับปูตินเพื่อแก้ไขวิกฤตนี้แทน ในการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีทรัมป์ในเดือนกรกฎาคม 2019 เซเลนสกี้ได้ถูกเชิญให้ไปเยี่ยมทำเนียบขาวเพื่อพบกับประธานาธิบดีทรัมป์เกี่ยวกับการสนับสนุนของสหรัฐฯ เกี่ยวกับความพยายามของยูเครนในการขับไล่รัสเซีย ทรัมป์ขอให้เซเลนสกี้ “ช่วยเหลือ”โดยการสืบสวนบริษัทน้ำมัน Burisma และ The Bidens ซึ่งขณะนั้นบุตรชายของโจ ไบเดน คือ ฮันเตอร์ ไบเดน ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารอยู่ในบริษัทนี้ ซึ่งการกระทำนี้ของทรัมป์นำไปสู่การฟ้องร้องกันของประธานาธิบดีทรัมป์ ในเดือนธันวาคม 2019
ปี 2021: วิกฤตทวีความรุนแรงขึ้น
เมษายน 2021
รัสเซียส่งทหารประมาณ 100,000 นายไปยังชายแดนยูเครน เห็นได้ชัดว่าเป็นการซ้อมรบทางทหาร แม้ว่านักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าการบุกรุกกำลังจะเกิดขึ้น แต่เซเลนสกี้ นายกยูเครนคนปัจจุบันได้เรียกร้องให้ผู้นำของนาโต้ รับยูเครนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของนาโต้ ปลายเดือนเมษายนนั้นรัสเซียกล่าวว่าจะถอนทหารออกไป แต่ยังเหลืออีกหลายหมื่นนาย
สิงหาคม 2021
เซเลนสกี้ไปเยี่ยมทำเนียบขาวเพื่อพบกับประธานาธิบดีไบเดน โดยสหรัฐ เน้นย้ำว่าสหรัฐฯมุ่งมั่น “ต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครนในการเผชิญกับการรุกรานของรัสเซีย” แต่ย้ำว่ายูเครนยังไม่บรรลุเงื่อนไขที่สามารถในการเข้าร่วมนาโต้ได้
ปี 2022: ความกลัวของสงคราม
มกราคม 2022ผู้นำและนักการทูตจากสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และประเทศในยุโรปมาพบกันหลายครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤต ในต้นเดือนมกราคม Sergei Ryabkov รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียบอกเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ว่ารัสเซียไม่มีแผนที่จะบุกยูเครนนาโต้กำหนดให้กองกำลังเตรียมพร้อมในวันรุ่งขึ้น รวมถึงสหรัฐฯ ที่สั่งทหาร 8,500 นายในสหรัฐฯ ให้พร้อมที่จะประจำการ ผู้แทนจากสหรัฐฯ และนาโต้ได้ตอบกลับข้อเรียกร้องของปูตินเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อวันที่ 26 มกราคม ในการตอบโต้ โดยกล่าวว่า “พวกเขาไม่สามารถห้ามยูเครนจากการเข้าร่วมนาโต้ได้” แต่เต็มใจที่จะเจรจาในประเด็นเล็กๆ เช่น การควบคุมด้านอาวุธกุมภาพันธ์ 2022ความพยายามทางการทูตเพิ่มขึ้นทั่วยุโรป ประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายเอ็มมานูเอล มาครง และนายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ แห่งเยอรมนี เดินทางระหว่างมอสโกวและเคียฟ ประธานาธิบดีไบเดนสั่งย้ายทหารสหรัฐ 1,000 นายจากเยอรมนีไปยังโรมาเนีย และส่งทหารสหรัฐอีก 2,000 นายไปยังโปแลนด์และเยอรมนีรัสเซียส่วนเบลารุสเริ่มซ้อมรบกับรัสเซียร่วมในวันที่ 10 ก.พ.โดยมีทหารรัสเซียประมาณ 30,000 นายประจำการอยู่ในประเทศตามแนวชายแดนทางเหนือของยูเครนสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้พลเมืองของตนออกจากยูเครนในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีไบเดนประกาศส่งทหารอีก 2,000 นายจากสหรัฐฯ ไปยังโปแลนด์
“เหตุการณ์ที่มีการผนวกไครเมียและการใช้ความรุนแรงใน Donbasของรัสเซีย ได้ถือเป็นชนวนแรงผลักดันให้ประชาชนชาวยูเครนเข้าฝักใฝ่ทางฝั่งตะวันตกมากขึ้นรวมทั้งให้ความสนใจในการเข้าร่วม NATO และการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป” สถานการณ์ต่อไปไม่มีใครทราบได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ขออย่าให้เกิดสงครามเป็นทางออกที่ดีที่สุดค่ะ
ปฏิวัตในไมดาน